หน่วยงาน
ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน
หลักการและเหตุผล
ในปีงบประมาณ 2559 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ได้ดำเนินงานโครงการจัดทำระบบพืชและสัตว์ทะเล และตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพงานระบบฐานข้อมูลทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางทะเล (Marine Resources Database System - MRDS) ซึ่งสอดคล้องกับ กรอบการใช้ประโยชน์ ในกิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร ในแผนระยะ 5 ปีที่หก (1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2564) โดย MRDS เป็นระบบสารสนเทศของข้อมูลตัวอย่างสิ่งมีชีวิตทางทะเล ทั้งที่มีตัวอย่างอ้างอิงและที่อ้างอิงจากผลงานตีพิมพ์ของส่วนวิจัยทรัพยากรป่าชายเลน กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน และสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่ง ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลของศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้ง 7 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวทอ.) ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก (ศวบอ.) ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันตก (ศวบต.) ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ศวทก.) ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง (ศวทล.) ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) โดยติดตั้งระบบการทำงานหลักบนพื้นที่ระบบเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์บริการ (Web Server) การเข้าใช้งานจะผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทาง URL : http://mrds.dmcr.go.th ซึ่งระบบจะทำการบันทึกข้อมูลจากทุกส่วน/ศูนย์ มาจัดเก็บและจัดทำเป็นฐานข้อมูลเดียวกันเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งในด้านการวิจัยและเพื่อการศึกษา และเชื่อมโยงกับคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวิภาพของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนทั้งการอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟูและการนำไปใช้ต่อยอดสร้างผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระยะ 20 ปี ซึ่งสอดคล้องกบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580) แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาและแผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558–2564
วัตถุประสงค์โครงการ
1 เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2 เพื่อจัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศจากงานวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน ให้เป็นเอกภาพ ความสมบูรณ์และทันสมัย ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
สถานที่ดำเนินงาน
ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางทะเล (Marine Resources Database System - MRDS) ผ่านทาง URL: http://mrds.dmcr.go.th
ผลการดำเนินงาน
1 เปลี่ยนชื่อฟิลด์ SightingTime เป็น ThaiRedList โดยมีคำอธิบานใน Form เหมือนฟิลด์ ProtectionIUCN2019
2 นำเข้ารูปภาพจำนวน 1,800 ภาพ
3 ทำ API กับคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวิภาพของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนทั้งการอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟูและการนำไปใช้ต่อยอดสร้างผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระยะ 20 ปี ซึ่งสอดคล้องกบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580) แผนการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาและแผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558–2564