โครงการที่ 9 จัดทำแหล่งขยายและเตรียมต้นพันธุ์หญ้าทะเล เพื่อใช้สำหรับการฟื้นฟูหญ้าทะเล บริเวณเกาะมันใน จังหวัดระยอง โครงการที่ 9 จัดทำแหล่งขยายและเตรียมต้นพันธุ์หญ้าทะเล เพื่อใช้สำหรับการฟื้นฟูหญ้าทะเล บริเวณเกาะมันใน จังหวัดระยอง
196 view

หน่วยงาน / ผู้รับผิดชอบ

   ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก

หลักการและเหตุผล

           แหล่งหญ้าทะเล เป็นที่อยู่อาศัย หากิน วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตในทะเลมีความสำคัญในเชิงระบบนิเวศทางทะเล และเป็นดรรชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของท้องทะเลด้วย ในปัจจุบันแหล่งหญ้าทะเลได้รับผลกระทบจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล เพื่อใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย และการท่องเที่ยว ส่งผลให้แหล่งหญ้าทะเลเกิดความเสื่อมโทรมมาก จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟู ซึ่งจากการศึกษาวิจัย พบว่าการย้ายปลูกหญ้าทะเลเป็นวิธีการหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ และสามารถเจริญเติบโตเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่สมบูรณ์ต่อไปได้ ซึ่งในปัจจุบัน การย้ายปลูกหญ้าทะเล นั้น มี 2 วิธี คือ 1. การย้ายปลูกต้นพันธุ์หญ้าทะเลจากธรรมชาติ 2. การเก็บเมล็ดหญ้าทะเลจากธรรมชาติมาอนุบาลและนำไปปลูกในธรรมชาติ  ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก เห็นสมควรที่จะทำการศึกษาการเตรียมแหล่งต้นพันธุ์หญ้าทะเล เพื่อใช้เป็นแหล่งต้นพันธุ์สำหรับการฟื้นฟูทรัพยากรหญ้าทะเลในธรรมชาติต่อไป

          กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จึงขอพระบรมราชานุญาตให้โครงการดังกล่าว ร่วมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ตามแผนแม่บท โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ระยะ 5 ปีที่หก (1 ตุลาคม 2559– 30 กันยายน 2564)

วัตถุประสงค์

          1 เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

          2 เพื่อจัดทำแหล่งขยายและเตรียมต้นพันธุ์หญ้าทะเล ด้วยวิธีย้ายปลูก สำหรับใช้ในการฟื้นฟูทรัพยากรหญ้าทะเลในธรรมชาติ

สถานที่ดำเนินงาน

          บริเวณลุ่มน้ำประแสและเกาะมันใน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

วิธีดำเนินการ

          1 เก็บรวบรวมต้นพันธุ์หญ้าทะเลชนิดหญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia) บริเวณปากแม่น้ำประแสและพื้นที่ใกล้เคียง ด้วยวิธีการขุดโดยใช้กระบอกขุดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 ซม. เป็นจำนวน 600 กอ โดยแบ่งการขุดเป็น 3 ครั้ง ครั้งละ 200 กอ

          2 ย้ายหญ้าทะเลที่ขุดออกมา นำมาปลูกขยายพันธุ์ในบ่อ บนเกาะมันใน จังหวัดระยอง

          3 ติดตามอัตรารอดตาย และตรวจวัดการเจริญเติบโต ของหญ้าทะเลที่นำมาปลูกขยายพันธุ์ในบ่อ

ผลการดำเนินงาน

          นำหญ้าทะเลลงปลูกในบ่อ บนเกาะมันใน จังหวัดระยอง หญ้าทะเลที่ทำการฟื้นฟู คือ หญ้ากุยช่ายเข็ม (Halodule pinifolia) จำนวน 600 กอ การติดตามผลการฟื้นฟูหญ้ากุยช่ายเข็ม หลังการจากการปลูก ๓๐ วัน พบอัตรารอดของหญ้าทะเลร้อยละ ๘๐.๕๑ โดยพบหญ้าทะเลมีเติบโตแผ่ขยายออกไปด้านข้าง พบมีตะกอนปกคลุมบนใบหญ้า พื้นบ่อมีลักษณะเป็นเลน 

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง