หน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบ
ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง และศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน
หลักการและเหตุผล
ทรัพยากรทางทะเลบริเวณชายฝั่ง มีความสำคัญในระบบนิเวศทางทะเล โดยเฉพาะการเป็นแหล่งผู้ผลิตขั้นต้น อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญในระบบนิเวศ ปัจจุบันระบบนิเวศชายฝั่งได้รับผลกระทบจากปริมาณของเสียทำให้เกิดความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในบริเวณนั้น นอกจากนี้การลดลงของสิ่งมีชีวิตยังเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นระดับความรุนแรงของความเสียหาย
การจัดฝึกอบรมที่เกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น เป็นการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการช่วยดำเนินงาน ซึ่งมุ่งเน้นให้ท้องถิ่นสามารถสำรวจและประเมินสถานภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรในเบื้องต้น ในลักษณะที่เหมาะสม เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในกระบวนการศึกษาประเมินสถานภาพและการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของตนเองอย่างง่ายๆ ได้ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ การพัฒนาจิตสำนึก ความหวงแหนทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่นของตน ตลอดจนเสริมสร้างทักษะและความมั่นใจในการดูแลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่นได้อย่างดี
วัตถุประสงค์
1 เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจาพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
2 เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นรับทราบแนวทางการดำเนินงาน เพื่อจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
3 เพื่อให้ชุมชนและสถานศึกษาในพื้นที่สามารถสำรวจศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ทะเลในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งในท้องถิ่น รวมทั้งเก็บรวบรวมตัวอย่างเพื่อให้ความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพพืชและสัตว์ทะเลในชุมชนโดยใช้คู่มือศึกษาสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
4 เพื่อสนับสนุนให้ชุมชน นักเรียน ครูอาจารย์มีความรู้ในการจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรภายในชุมชน ในการนำมาช่วยในการตัดสินใจวางแผนการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนรวมทั้งองค์ความรู้ที่ได้สามารถเผยแพร่ให้ชุมชนและเยาวชนได้รับทราบถึงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น
พื้นที่/สถานที่ดำเนินงาน
พื้นที่ดำเนินการ 5 จังหวัด ได้แก่
- ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอามจังหวัดจันทบุรี
- ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
- ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
- ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ผลการดำเนินงาน
1 พื้นที่ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง
- ลงพื้นที่สำรวจป่าชายเลนเพื่อเก็บข้อมูลชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลนบริเวณองศ์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ พบชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน จำนวน 24 ชนิด
- ลงพื้นที่สำรวจเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำบริเวณหน้าป่าชายเลนองศ์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ โดยใช้อวนทับตลิ่ง (ทะเลสาบสงขลาตอนล่าง) พบจำนวน 20 ชนิด
ลงพื้นที่สำรวจรวบรวมตัวอย่างพันธุ์ไม้ป่าชายเลนบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอ
2 พื้นที่ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน
- จัดฝึกอบรมสำรวจเก็บรวบรวมตัวอย่างพันธุพืชและสัตว์ทะเลร่วมกับชุมชนท้องถิ่น พร้อมทั้งจัดทำข้อมูล 3 ใบงาน ในฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น
- เก็บตัวอย่างและวิเคราะห์จัดจำแนกเพื่อจัดทำฐานข้อมูล และเป็นตัวอย่างสำหรับการศึกษา หรือจัดแสดงในศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติวิทยาสัตว์และพืชทะเล
3 พื้นที่ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
- เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงมีการเปลี่ยนแปลงงบประมาณไปใช้ในโครงการศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติวิทยาสัตว์และพืชทะเล (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นการทดแทน
4 พื้นที่ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
- เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงมีการเปลี่ยนแปลงงบประมาณไปใช้ในโครงการศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติวิทยาสัตว์และพืชทะเล (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นการทดแทน
5 พื้นที่ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงมีการเปลี่ยนแปลงงบประมาณไปใช้ในโครงการศูนย์เรียนรู้ธรรมชาติวิทยาสัตว์และพืชทะเล (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นการทดแทน