ข้อมูลทั่วไปของตำบลปากน้ำกระแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ตำบลปากน้ำกระแส มีเนื้อที่ 3,037.50 ไร่ หรือคิดเป็นพื้นที่ 4.866 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอแกลง ประมาณเส้นรุ้งเหนือที่ 12 องศา 40 ลิปดา และเส้นแวงตะวันออกที่ 101 องศา 40 ลิปดา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแกลง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ประมาณ 17 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดระยองประมาณ 63 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 200 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขต ตำบลคลองปูน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขต ตำบลพังราด
ทิศใต้ ติดต่อกับเขต แม่น้ำปากน้ำประแส เชื่อมติดกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขต ตำบลเนินฆ้อ
ตำบลปากน้ำกระแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ลาดต่ำลงสู่อ่าวไทยทางทิศใต้ ซึ่งมีชายฝั่งทะเลเว้าแหว่งติดอ่าวไทยยาวประมาณ 1-3 กิโลเมตร มีแม่น้ำสายหลัก คือน้ำประแส ความยาวประมาณ 5-8 กิโลเมตร โดยมีต้นกำเนิดจากทิวเขาในจังวัดจันทบุรีไหลผ่านท้องที่ต่างๆ ในอำเภอแกลง ลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำประแส มีแม่น้ำประแสกั้นเขตตำบล มีลำคลองลงสู่ทะเล มีการทำนากุ้ง เลี้ยงปลาน้ำกร่อยริมฝั่งแม่น้ำประแส มีท่าเรือประมงขนาดใหญ่ ลูกมะม่วง มะพร้าว บริเวณปากแม่น้ำเป็นชุมชนหนาแน่น เป็นแหล่งการค้าของตำบล บางพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรถาวร มีลักษณะเป็นดินเหนียว เป็นที่ราบดินตะกอนดูดซับน้ำได้ดี พื้นที่ลีกษณะเช่นนี้มีอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำประแส พื้นที่ชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นดินทรายส่วนใหญ่ บางแห่งเป็นที่ลุ่มน้ำขัง พื้นที่ลักษณะเช่นนี้มีอยู่ตลอดริมฝั่งทะเลของปากน้ำประแส เหมาะในการเพาะเลี้ยงชายฝั่งและแหล่งท่องเที่ยว
ปากน้ำประแสมีแหล่งนี่สำคัญ คือ “แม่น้ำประแส” มีต้นกำเนิดจากเขาใหญ่ เขาอ่างฤๅในเขาหินโร เขาอ่างกระเด็น ซึ่งไหลมา ตามห้วยและคลองต่างๆ หลายสาย เช่น คลองประแสร์ คลองปลิง คลองบาอทอง ห้วยหินคม คลองเจว็ด คลองตากกล้วย คลองชุมแสง คลองไผ่เหนือ คลองไผ่ใต้ คลองตวาด คลองพังหวาย คลองจำกา คลองใช้ คลองแหวน คลองโพล้ คลองท่าสีแก้ว และคลองหนองพลง ฯลฯ ได้ไหลรวมกันเรียกว่า แม่น้ำประแส มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร และไหลลงสู่ทะเลที่บ้านปากน้ำประแส ตำบลปากน้ำกระแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ปากน้ำประแสถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่เต็มไปด้วยความสมบูรณ์ของป่าชายเลน ป่าชายเลนปากน้ำประแสเป็นสังคมพืชที่ขึ้นตามปากแม่น้ำประแส ป่าชายเลนที่ปากน้ำประแสมีความอุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิด ได้แก่ โกงกางใบเล็ก (Rhizophoraapiculata) โกงกางใบใหญ่ (Rhizophoramucronata) แสมขาว (Avicennia alba) ประสัก หรือพังกาหัวสุม (Bruguiragymnorrhiza) ลำพู (Sonneratiacaseolaris) ตะบูน (Xylocarpusgranatum) โปรง (Ceriopstagal) ตาตุ่ม (Excoecariaagallocha) ฝาดแดง (Lumnitzeralittorea) เป็นต้น พื้นที่ป่าชายเลนของปากน้ำประแสมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ป่าชายเลน ป่าชายเลนปากน้ำประแสจึงเป็นระบบนิเวศที่สำคัญของปากน้ำประแสที่เชื่อมโยงระหว่างพื้นดินกับน้ำทะเล มีความอ่อนไหวและเปราะบาง และเปลี่ยนแปลงสภาพไปตามทิศทางการผันแปรของกระแสน้ำและคลื่นลมในสภาวการณ์ปกติป่าชายเลนทำหน้าที่เป็นแนวปราการธรรมชาติที่คอยปกป้องชายฝั่งทะเลไม่ให้ถูกทำลายจากกระแสคลื่น เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ ในขณะเดียวกันสัตว์บกสามารถเข้ามาอาศัยและแสวงหาอาหารที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในป่าชายเลน ทำให้ป่าชายเลนปากน้ำประแสหลากหลายไปด้วยสิ่งมีชีวิตทั้งพืชน้ำและสัตว์นานับชนิด เทศบาลตำบลปากน้ำกระแสไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาต่อยอดโครงการเพิ่มพื้นที่ป่าอยู่เสมอภายใต้โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลน การอนุรักษ์ป่าโกงกางของปากน้ำประแสอยู่ใกล้กับที่ตั้งของเรือรบประแสบริเวณปากแม่น้ำประแสปัจจุบันเทศบาลตำบลปากน้ำประแสได้ก่อสร้างสะพานไม้ เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าไปในป่าโกงกาง ได้อย่างสะดวกและใกล้ชิดธรรมชิ เพื่อการศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติของป่าโกงกางไม้ประจำถิ่นของชาวน้ำเค็ม
สภาพพื้นที่และสภาพป่า
บริเวณโครงการป่าในเมืองจังหวัดระยอง
“มหัศจรรย์ป่าชายเลน ทุ่งโปรงทองปากน้ำประแส”
ท้องที่ตำบลปากน้ำกระแส อำเภอแกลง จังหวัดระยอง