ชื่อร้าน/กลุ่มเครือข่าย : | กลุ่ม อสทล. บ้านหัวเลนเอื้ออาทร |
ผลิตภัณฑ์ชุมชน : | ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ดูมวยไชยา คาดเชือก หมัดถัก และผลิตภัณฑ์แปรรูป |
ที่อยู่ : | 81 ม.2 ต.พุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี 84110 |
โทรศัพท์/FB: | 062 052 7474 นางอุรัตน์ สะอาด (พี่เล็ก) , 087 281 7239 (พี่นวล) , www.facebook.com/กลุ่มท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมอำเภอไชยา |
การท่องเที่ยว
1. ฝึกสอนมวยไชยา 500 บาท/1 ชั่วโมง |
2. โชว์ท่ามวยไชยาพร้อมวิทยากร 3000 บาท |
3. ผลิตภัณฑ์แปรรูป น้ำพริก สบู่สมุนไพร |
มวยไชยา เป็นมวยไทยโบราณของภูมิปัญญาไทย บรรพบุรุษไทย กษัตริย์ไทยที่สืบทอดกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน เพื่อสืบสานต่อไปในอนาคตที่ยั่งยืน มวยไชยาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
ยุคเริ่มต้น กำเนิดขึ้นจากพ่อท่านมา หรือหลวงพ่อมา อดีตนายทหารจากพระนครสมัยรัชกาลที่ 3 ฝึกมวยให้กับชาวเมืองไชยา
ยุคเฟื่องฟู ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช จากนั้นได้พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่นักมวยจากเมืองไชยาคือ นายปรง เป็นหมื่นมวยมีชื่อ ตำแหน่งกรรมการพิเศษเมืองไชยา ถือศักดินา 300
ยุคเปลี่ยนแปลง ในช่วงรัชสมัยพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 เกิดขึ้นเพราะต้องรื้อเวที และพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) เจ้าอาวาสเจ้าอาวาสวัดไชยามรณภาพลง มวยไทยไชยาจึงสิ้นสุดลงด้วย
ยุคอนุรักษ์ หลังจากสิ้นสุดสมัยพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) มวยไทยไชยาเริ่มเลือนหายไปจากความทรงจำของชาวไชยา อย่างไรก็ตามยังมีผู้ที่เคยเรียนมวยไทยไชยา แล้วนำมาสืบทอดต่ออีกหลายท่านเช่น ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย นายทองหล่อ ยา และนายอมรกฤต ประมวล นายกฤษดาสดประเสริฐ นายอเล็กซ์ สุย และพันเอก อำนาจ พุกศรีสุข เป็นต้น
เอกลักษณ์ของมวยไชยา พบว่ามีอยู่ 7 ด้านคือ การตั้งท่ามวยหรือการจดมวยท่าครู หรือท่าย่างสามขุม การไหว้ครูร่ายรำ การพันมือแบบคาดเชือก การแต่งกาย การฝึกซ้อมมวยไชยาและแม่ไม้มวยไชยา แม่ไม้มวยไทยไชยา 7 ท่า ได้แก่ ปั้นหมัด พันแขนพันหมัด กระโดดตบศอก พันหมัดพลิกเหลี่ยม เต้นแร้งเต้นกา ย่างสามขุม ท่าที่สำคัญคือท่าเสือลากหาง เคล็ดมวยไชยาที่ใช้ป้องกันได้ดีที่สุดคือ ป้อง ปัด ปิด เปิด